ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
โครงสร้างการบริหาร
แผนพัฒนาท้องถิ่น
การให้บริการ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทศบาล
แบบสอบถาม
คุณคิดว่าเทศบาลตำบลทุ่งหลวงต้องพัฒนาหรือแก้ไขสิ่งใดเป็นลำดับต้นๆ
พัฒนาด้านการเกษตร
พัฒนาด้านระบบอุปโภคและสาธารณูปโภค
พัฒนาด้านระบบขนส่งและถนนที่ได้มาตรฐาน
พัฒนาด้านสุขภาพและจิตใจ
พัฒนาด้านสายอาชีพด้านต่างๆ
พัฒนาและช่วยเหลือด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
แก้ไขระบบความเลื่อมล้ำในสังคม
ตรวจสอบระบบการทำงานให้โปร่งใส
แก้ไขความไม่เป็นธรรมในสังคม
สถิติผู้เยี่ยมชม
ออนไลน์ทั้งหมด 5 คน
หมายเลข IP 3.16.15.149
คุณเข้าชมลำดับที่ 4,045,355

ทะเบียนครุภัณฑ์
เว็บไซต์ในเครือข่าย

ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
สายตรงผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
แหล่งท่องเที่ยว


  หน้าแรก   ข่าวย้อนหลัง     รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน) 

รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน)
ข่าวประชาสัมพันธ์  
  การจัดการน้ำเสียในชุมชน  
     

การจัดการน้ำเสียในชุมชน

ข้อดีของการใช้น้ำทิ้ง

1. เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ นำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. สารอาหารในน้ำ น้ำทิ้งจากระบบบำบัดจะมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นธาตุอาหารจำเป็นของพืชการใช้น้ำทิ้งในการเพาะปลูกจะช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีและปุ๋ยได้

3.ความสม่ำเสมอของปริมาณน้ำ เนื่องจากประชาชนมีการใช้น้ำและก่อให้เกิดน้ำทิ้ง น้ำเสียทุกวัน การนำน้ำทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยลดการขาดน้ำในชุมชนได้

ระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบรวบรวมน้ำเสีย หรือระบบระบายน้ำ หมายถึง การนำน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดหลายๆ แห่งไปรวมกันยังสถานที่ที่จะบำบัด โดยผ่านท่อระบายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

1.ระบบท่อร่วม (Combined System ) เป็นระบบที่ใช้ท่อระบายน้ำฝนและน้ำเสียร่วมกัน โดยจะต้องสร้างท่อดักน้ำเสีย ( Interceptor ) เป็นระยะๆ เพื่อรวบรวมน้ำเสียให้ไหลไปตามท่อรวมไปยังบ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนน้ำฝนจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

2.ระบบท่อแยก (Separated System) เป็นระบบที่แยกท่อระบายน้ำเสียออกจากท่อระบายน้ำฝน น้ำเสีย หมายถึง น้ำหรือของเหลวที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในปริมาณสูงจนกระทั่งเป็นน้ำที่ไม่ต้องการ และน่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป เป็นมลพิษทางทัศนียภาพและก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้องมีการบำบัดน้ำเสีย

• เพื่อทำลายตัวการที่ทำให้เกิดโรค หรือแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องร่วง

• เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำกลับมาใช้ได้

• เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งความรำคาญที่เกิดขึ้น เช่น กลิ่นของน้ำเสีย หรือสีที่เป็นที่น่ารังเกียจ

• และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ น้ำเสียมาจากแหล่ง ดังต่อไปนี้

1. น้ำเสียจากชุมชน เป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนในชุมชน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก อาคารบ้านเรือน ร้านค้าพาณิชย์กรรม ตลาดสด ร้านอาหาร สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ โรงแรม โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

2. น้ำเสียจากอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำล้างในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรม

3. น้ำเสียจากการเกษตร เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตร เช่นน้ำเสียจากการล้างคอกสัตว์เลี้ยง เช่น คอกหมู คอกวัว เล้าไก่ น้ำเสียจากนาข้าว จากฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น โดยน้ำเสียจากเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ย

เรามีวิธีตรวจสอบน้ำเสียถึง 3 วิธี คือ ดูลักษณะทางกายภาพ ตรวจสอบทางชีวภาพ และตรวจสอบทางเคมี ลักษณะทางกายภาพ คือ ดูด้วยตาเปล่าๆนั่นเอง หรือตรวจวัดอย่างง่ายๆ เช่น ความขุ่น อุณหภูมิ สี กลิ่น ลักษณะทางชีวภาพ คือ การตรวจวัดจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ ลักษณะทางเคมี คือ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Damage, BOD) ค่าซีโอดี สารอาหาร (Nutrient) และสารพิษต่างๆ (Toxic Substances) และโลหะหนัก





ประกาศโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี
วันที่ประกาศ : 2564-03-03

E-Service
การดำเนินงาน และการปฎิบัติงาน
การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
งานปัองกันและบรรเทาฯ
การส่งเสริมความโปร่งใส
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
งานตรวจสอบภายใน
ประกาศเทศบาล
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
   
ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
 
สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหลวง
อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Tel : 043-501568   Fax : 043-501568
Email : tungluang999@hotmail.com
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.